...
วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
การปลูกโดยใช้ส่วนเจริญของพืช (vegetative structure planting)
3.การปลูกโดยใช้ส่วนเจริญของพืช (vegetative structure planting)
เป็นการปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์ซึ่งมีตาข้างอย่างน้อย 2-3 ตา อาจจะเป็นส่วนซึ่งตัดมาจากลำต้นโดยตรง (stem cutting) ซึ่งนิยมทำกับอ้อยและมันสำปะหลัง หรือท่อนพันธุ์ที่นำไปปักชำแล้ว (rooted cutting)
การปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์นี้ ควรเตรียมดินโดยไถเปิดร่องให้ห่างกันประมาณ 1.50 เมตร และให้ร่องลึกประมาณ 15-25 เซนติเมตร จากนั้นนำท่อนพันธุ์ปลูกในร่องซึ่งห่างกันประมาณ 1-1.50 เมตร การปลูกท่อน
ที่มา http://www.natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter08/agri_08.htm
การปลูกโดยวิธีย้ายกล้าปลูก (transplanting)
2.การปลูกโดยวิธีย้ายกล้าปลูก (transplanting)
การเตรียมกล้า
การเตรียมกล้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นการทำให้ต้นกล้าแข็งแรงเมื่อย้ายปลูกไปในแปลงปลูกและทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี มีการเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างรวดเร็ว การเตรียมกล้าจำเป็นต้องเพาะเมล็ดก่อน
การย้ายปลูก
โดยขนย้ายกล้ามายังแปลงปลูก
สำหรับต้นกล้าที่ถอนจากแปลงเพาะพยายามอย่าให้ต้นกล้ากระทบกระเทือนมาก
จากนั้นนำกล้าลงปลูกตามหลุมที่ได้เตรียมไว้ในแถวปลูก
การปลูกเราจะใช้ช้อนปลูกขุดหลุมให้ลึกพอควร แล้วนำต้นกล้าลงปลูกไม่ควรให้ต้นกล้าอยู่ลึกหรือตื้นเกินไป
จากนั้นเอาดินกลบโคนต้นกล้า
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางสอดไประหว่างโคนต้นกล้าแล้วกดดินที่โคนต้นกล้าให้แน่น
แล้วรดน้ำให้ชุ่มพอควร
ปกติการย้ายปลูกต้นกล้าควรทำในตอนเย็นเพื่อลดปัญหาแสงแดดจัดในเวลากลางวัน
และต้นกล้าจะตั้งตัวได้ในวันรุ่งขึ้น
หากต้นกล้ายังเหี่ยวอยู่ควรหาวัสดุคลุมกันแสงแดดเพื่อช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้นที่มา http://www.natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter08/agri_08.htm
การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง (direct seeding)
การปลูกพันธ์ไม้
แบ่งเป็นวิธีใหญ่ๆ ได้ 3 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง (direct
seeding) การปลูกโดยวิธีย้ายกล้าปลูก (transplanting) และการปลูกโดยใช้ส่วนเจริญของพืช (vegetative structure planting)การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงอาจกระทำได้โดยวิธีการดังนี้คือ
การหว่าน (broadcasting) วิธีนี้เป็นวิธีที่เก่าแก่ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรใช้กับพืชบางชนิดซึ่งเมล็ดพันธุ์ราคาถูก เพราะการปลูกโดยวิธีนี้จะสิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์มาก
การปลูกเป็นแถว
(row planting) การปลูกโดยวิธีนี้มีการจัดระยะปลูกค่อนข้างแน่นอน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2
วิธีด้วยกันคือ
การโรยเป็นแถว (drill
planting) การปลูกแบบนี้มีการจัดระยะระหว่างแถวแน่นอน
แต่ระยะระหว่างต้นไม่แน่นอน การหยอดเป็นหลุม (hill planting) วิธีนี้จะมีการกำหนดระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวแน่นอน
ที่มา http://www.natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter08/agri_08.htm
การรมควัน
6. การรมควัน
การรมควันเป็นการถนอมอาหารที่ต่างไปจากการ ตากแห้งธรรมดา
นอกจากจะทำให้อาหารแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้นาน
มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก
การรมควันที่สามารถทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติิโดยการสุมไฟด้วยไม้กาบมะพร้าว
ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด
ให้แขวนอาหารไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รมควันอาหารไปพร้อมกับไอร้อนจะช่วยทำให้อาหารแห้งเร็ว
เช่น รมควันปลา เป็นต้น
การทำแยม
5. การทำแยม การทำแยม เป็นการต้มเนื้อผลไม้ปนกับน้ำตาลด้วยไฟอ่อนในระยะแรก แล้วค่อย ๆ
เพิ่มไฟขึ้นทีละน้อย หมั่นคนสม่ำเสมอ จนกระทั่งแยมเหนียวตามต้องการ
การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน
4. การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน คือ
การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาล โดยใช้ความร้อน
เพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกัน โดยมีรสหวาน และให้เข้มข้นขึ้น
การใส่น้ำตาลในการกวนมี 2 วิธี คือ
ใส่น้ำตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้ เพื่อทำแยม เยลลี่ เป็นต้น
และการกวนโดยใช้ปริมาณน้ำตาลมาก เช่น การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน
ทุเรียนกวน เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)